วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Hamburger Crisis

1999-2002 มีการโจมตีประเทศสหรัฐอเมริกา 2 รูปแบบ

1) 1999-2003 มีการโจมตีตลาดหุ้นแนสแดกซ์ โดยกองทุนโลก หรือ Hedge Fund ก่อให้เกิดความเสียหายสูงมาก ไม่ใช่เป็นความเสียหายเฉพาะที่ แต่เป็นความเสียหายของระบบ ไม่ได้เกิดความเดือดร้อนเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น แต่เกิดความเสียหายไปทั่วโลก เป็นเหตุให้เงินเฟ้อ หรือค่าครองชีพของโลกสูงขึ้น 

การปรับปรุงตัวหุ้นในการคำนวณดัชนีแนสแดกซ์ในปี 1999 (Index reform) โดยนำหุ้นที่มีมูลค่าตลาดสูงเพิ่มเข้ามาในการคำนวณดัชนี ยกตัวอย่างหุ้นไมโครซอฟท์ ทำให้ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของดัชนีสูงขึ้นมาก (Standard deviation) ทำให้ดัชนีอ่อนแอสูง จึงถูกปั่นได้ หรือถูกโจมตีได้ง่าย ทำให้ดัชนีถูกลากขึ้นไปสูงในต้นปี 2000 ที่ 5,000 จุด แล้วก็ถล่มทุบลงให้พังทลายลงอย่างรุนแรง และลงไปต่ำสุดที่ 1,114 จุดในปี 2002

เป็นเช่นนี้ทุกตลาดทั่วโลก.. ตลาดหุ้นพังทลาย ทำให้ค่าเงินพังทลาย..
การพังทลายของตลาดแนสแดกซ์ ทำให้ค่าเงินเหรียญสหรัฐพังทลายลงด้วย

ค่าเงินเหรียญสหรัฐเริ่มพังทลายลงหลังปี 2000 เมื่อเทียบกับเงินทุกสกุล รวมทั้งสกุลเงินบาท และสุกลเงินที่ใหญ่อันดับที่ 2 และ 3 ของโลกคือสกุลเงิน EURO (EUR) และสกุลเงิน YEN ตามที่เห็นในภาพ

เงินเหรียญสหรัฐเป็นสกุลเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก ถือว่าเป็นสกุลเงินของโลก การพังทลายของเงินเหรียญสหรัฐ ทำให้เงินเฟ้อโลกเพิ่มขึ้นรุนแรง นำความเสียหาย นำความเดือดร้อนมาสู่ชาวโลกอย่างทารุณ

กลไก (Mechanism)

เมื่อเงินสหรัฐเสียหาย ไม่ได้รับความเชื่อมั่น คนก็ไม่ถือเงินเหรียญสหรัฐ หรือทำให้ “ของ”นอกดอลลาร์โซนราคาถูกเมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐ จึงนำดอลลาร์ไปซื้อ “ของ” นอกดอลลาร์โซน ของเหล่านั้น ได้แก่เงินประเทศต่างๆ ตลาดหุ้นประเทศต่างๆ สินค้าโลหะคงทนต่างๆ สินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ รวมทั้งธุรกรรมการบริการต่างๆ เช่นธุรกรรมการส่งการเดินทาง เช่นเครื่องบินและการเดินเรือสมุทรเป็นต้น ทำให้ "ของ" เหล่านั้นราคาสูงขึ้น

ราคา “ของ” เริ่มสูงขึ้นตั้งแต่ปี 2001-2002 และไต่ระดับสูงขึ้นไปถึงปลายปี 2007 ขึ้นมาสูงมาก จากนั้นราคานั้นก็พังทลายลงในปี 2008 คนในวงการให้ชื่อมันว่า “Hamburger Crisis” ขอนำเสนอราคา “ของ” ที่สูงขึ้น แล้วพังทลายลงเป็น Hamburger Crisis ที่เป็นผลจากค่าเงินเหรียญสหรัฐเสียหายหลังปี 2000 ต่อไปนี้  

G92-Index คือค่าเฉลี่ยดัชนีตลาดหุ้นประเทศต่างๆทั่วโลก 92 ประเทศ

จากปี 2001 ตลาดหุ้นโลก G92-Index ใช้เวลาประมาณ 6 ปี ถึงปลายปี 2007 สูงขึ้น 463 เปอร์เซ็นต์ แล้วจึงพังทลายลงในปี 2008 ลงไป 62 เปอร์เซ็นต์เป็น “Hamburger Crisis” แล้วจึงมีการฟื้นตัวขึ้นใหม่




ASIA28-Index คือค่าเฉลี่ยดัชนีตลาดหุ้นในเอเชีย 28 ประเทศ

จากปี 2001 ASIA28 Index ใช้เวลาประมาณ 6 ปี ถึงปลายปี 2007 สูงขึ้น 460 เปอร์เซ็นต์ แล้วจึงพังทลายลงในปี 2008 ลงไป 55 เปอร์เซ็นต์เป็น “Hamburger Crisis” แล้วจึงมีการฟื้นตัวขึ้นอีก




ASEAN7-Index คือค่าเฉลี่ยดัชนีตลาดหุ้นอาเซียน 7 ประเทศ

จากปี 2001 ตลาดหุ้น ASEAN7 Index ใช้เวลาประมาณ 6 ปี ถึงปลายปี 2007 สูงขึ้น 399  เปอร์เซ็นต์ แล้วจึงพังทลายลงในปี 2008 ลงไป 55 เปอร์เซ็นต์เป็น “Hamburger Crisis” แล้วจึงมีการฟื้นตัวขึ้น



                                                                                                                                                                                                                                             THAILAND - Index แสดงถึงผลกระทบต่อ SET Index, Baht & International reserve

ได้รับผลการทบจากเงินไหลเข้าในปีหลังการพังทลายลงของตลาด แนสแดกซ์ในปี 2000 เช่นกัน หุ้นขึ้นมาระดับหนึ่ง จากนั้นตลาดหุ้นก็พังทลายลงในปี 2008 ในเวลาเดียวกัน ก็ส่งผลให้ค่าเงินบาทตกลง และทุนสำรองการเงินระหว่างประเทศก็ลดลงด้วย เป็น Hamburger Crisis เช่นเดียวกัน  


EUROPE39-Index คือค่าเฉลี่ยดัชนีตลาดหุ้นยุโรป 39 ประเทศ

จากปี 2001 EUROPE39-Index ใช้เวลาประมาณ 6 ปี ถึงปลายปี 2007 สูงขึ้น 365 เปอร์เซ็นต์ แล้วจึงพังทลายลงในปี 2008 ลงไป 71 เปอร์เซ็นต์เป็น “Hamburger Crisis” แล้วจึงฟื้นตัว




เงินเหรียญสหรัฐไหลเข้าซื้อเงินของของประเทศต่างๆ ทั่วโลก

ทำให้เงินของประเทศต่างๆแข็งค่าขึ้นประมาณ 6 ปี แล้ว ยกตัวอย่างเช่น เงินยูโร เงินเยน เงินดอลลาร์อาเซียน แล้วค่าเงินก็พังทลายลงในปี 2008 หรือพังทลายลงในเวลาเดียวกันกับการพังทลายของตลาดหุ้น



เงินยูโร แข็งขึ้น 81 เปอร์เซ็นต์ และปรับตัวลง 22 เปอร์เซ็นต์ ใน Hamburger Crisis ปี 2008
เงินเยน แข็งขึ้น 35 เปอร์เซ็นต์ และปรับตัวลง 9 เปอร์เซ็นต์ ใน Hamburger Crisis ปี 2008
เงินอาเซียนดอลลาร์ แข็งขึ้น 25 เปอร์เซ็นต์ และปรับตัวลง 16 เปอร์เซนต์ ใน Hamburger Crisis ปี 2008

สังเกตว่าเงินยูโร ขึ้นและลง แรงกว่าอีก 2 สกุลเงิน ที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของยุโรปทั้งระบบ ทำให้สภาพคล่องเสียหาย และเกิดหนี้เสียในช่วงท้าย ไม่ว่า ไอร์แลนด์ ไอซ์แลนด์ ปอร์ตุเกส กรีซ สเปน อิตาลี ฯลฯ 

ผลต่อราคาสินค้าโภคภัฑณ์เช่น ทองคำ น้ำมัน

การอ่อนค่าของเงินเหรียญสหรัฐ ในการซื้อ “ของ” ในปริมาณเท่ากัน จึงต้องใช้ปริมาณเงินมากขึ้นกว่าเดิม จึงทำให้เห็นว่าของเหล่านั้นราคาสูงขึ้น จึงส่งผลให้ราคาทองคำและราคาน้ำมันสูงขึ้น สังเกตว่าราคาทองคำและราคาน้ำมันสูงขึ้นหลังปี 2000 หรือหลังการพังทลายของตลาดหุ้นแนสแดกซ์และค่าเงินเหรียญสหรัฐ

ปี 2008 ราคาทองคำ และ น้ำมันก็ตกลงเช่นเดียวกับการตกลง ของตลาดหุ้นและตลาดเงิน โดยเฉพาะราคาน้ำมันตกแรงและเร็วมาก ภาพการตกของราคาน้ำมัน ใช้เวลาประมาณ 6 เดือนเท่านั้น ราคาน้ำมันเป็นตัวชี้นำนำการปั่นหุ้น ถ้าราคาน้ำมันขึ้น หุ้นโลกก็ขึ้น ถ้าราคาน้ำมันตก หุ้นโลกก็ตก  ถ้าราคาน้ำมันขึ้นแรง หุ้นโลกก็ขึ้นแรง  ถ้าราคาน้ำมันตกแรง หุ้นโลกก็ตกแรง

ปี 2000 คือจุดเริ่มต้นของวิกฤตเศรษฐกิจโลก

การที่ "ราคาของ" ต่างๆสูงขึ้น ก็คือเงินเฟ้อโลกสูงขึ้น หรือค่าครองชีพโลกสูงขึ้น คนเดือดร้อนกันทั่วโลก ประชาชนหลายประเทศออกมาเดินขบวนบ้าง จลาจลบ้าง เห็นแล้วเป็นที่เวทนา

จลาจลที่อียิปต์
จลาจลที่บาห์เรน












ประท้วงที่สเปน

ประท้วงที่กรีซ










อิตาลี













2) 11/9/2001 การโจมตีตึกคู่แฝด World Trade Center ใจกลางกรุง New York โดยผู้ก่อการร้าย การโจมตีนี้ แม้จะเห็นภาพความเสียหาย แต่เป็นความเสียหายเฉพาะที่ ไม่ใช่ความเสียหายต่อระบบ ความเสียหายจึงไม่มาก เกิดความเสียหายเฉพาะกับอเมริกา เป็นความเสียหายเชิงสัญลักษณ์มากกว่า 

สองรูปแบบการโจมตีประเทศสหรัฐอเมริกา http://t.co/bMxYw4m



สรุปกลไกการเกิด Hamburger Crisis เกิดจากการพังทลายของตลาดแนสแดกซ์ในปี 2000 ที่ทำให้ค่าเงินเหรียญสหรัฐพังทลายด้วย ทำให้เงินไหลออกจากอเมริกา มาซื้อเงิน มาซื้อหุ้น ซื้อสินค้าโภคภัณฑ์ ทำให้ราคาของเหล่านั้น ขึ้นมาสูงสุดที่ปลายปี 2007 จากนั้นราคาก็พังทลายลง(รุนแรง)ตลอดปี 2008 เรียกว่าเป็นวิกฤต Hamburger ทำความเดือดร้อนไปทั่วโลก 


เรื่องคล้ายๆกัน http://thaiworldcom.blogspot.com/2009/01/blog-post.html

วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สองรูปแบบการโจมตีอเมริกา

.

.
การโจมตีรูปแบบที่ 1  โจมตีตลาดแนสแดกซ์โดยบรรดากองทุนโลกหรือบรรดาเฮ็ดจ์ฟันด์

ดัชนีชี้นำตลาดหุ้นคือค่าตัวกลางอย่างหนึ่ง ที่ใช้สะท้อนภาพรวมของตลาดหุ้น ดัชนีชี้นำตลาดหุ้นต่างๆมีความผันผวนต่างกัน บางตัวผันผวนมาก บางตัวผันผวนน้อย ยกตัวอย่างเช่นดัชนีตลาดหุ้นของประเทศไทย SET50 ผันผวนมากที่สุด SET100 ผันผวนรองลงมา ส่วน SET ผันผวนน้อยกว่า 2 ตัวแรก แต่ SET ก็ผันผวนสูงเป็นอันดับที่ 7 ของโลก การวัดความผันผวนของดัชนี สามารถดูได้จากค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มข้อมูลที่ใช้สร้างดัชนี เช่นกลุ่มข้อมูล “มูลค่าตลาดหุ้น” หรือกลุ่มข้อมูล “ราคาหุ้น” แต่หากหา กลุ่มข้อมูล มูลค่าตลาดหุ้นหรือกลุ่มข้อมูลราคาหุ้นมาวัดค่าไม่ได้ เราก็สามารถนำค่าการแกว่งตัวของดัชนี (swing) ในแต่ละช่วงเวลามาพิจารณาค่าความแรงของการแกว่งตัวของดัชนีได้

ทำไมผู้เขียนจึงเอาเรื่องการผันผวนหรือการแกว่งตัวของดัชนีมานำเสนอ

ทั้งนี้เพราะเกี่ยวข้องกับการปั่นดัชนีหุ้น ดัชนีหุ้นที่มีค่าการแกว่งตัวสูงหรือเบี่ยงเบนสูงจะถูกปั่นได้ง่าย ดัชนีหุ้นที่มีค่าการแกว่งตัวต่ำหรือเบี่ยงเบนต่ำจะถูกปั่นได้ยาก

ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเจ้าแห่งข้อมูล เฉพาะดัชนีตลาดหุ้นก็มีเป็น 100 ดัชนี ดัชนีที่ผู้เขียนนำเสนอนี้ เป็นส่วนหนึ่งของดัชนีตลาดหุ้นของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เป็นที่รู้จักกันพอสมควร เรียงลำดับความแรงการแกว่งตัวของดัชนีจากมากไปหาน้อยดังนี้ 1) NASDAQ 14.28% 2) RUSSELL2000 8.24% 3) S&P500 8.04% 4) DJIA (Dow Jones) 7.91% 5) NYSE 7.15% 6) AMEX 5.54% จะเห็นว่า NASDAQ มีค่าการแกว่งตัวสูงที่สุด

สาเหตุที่ดัชนีแนสแดกซ์แกว่งตัวแรง จนกลายเป็นดัชนีที่แกว่งตัวแรงที่สุดของตลาดหุ้นอเมริกา เพราะในปี 1999 ได้มีการนำหุ้นกลุ่มที่มีมูลค่าตลาดสูง 3-4 ตัว เช่นหุ้นบริษัทไมโครซอฟท์ (MSFT) รวมเข้าไปในการคำนวณดัชนี มีผลทำให้ดัชนีแนสแดกซ์มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสูงขึ้นมาทันที ทำให้การแกว่งตัวของดัชนีสูงขึ้น หรืออ่อนแอมากขึ้น ถูกโจมตีได้ง่ายขึ้น

ผู้เขียนได้แยกวัดค่าการแกว่งตัวของดัชนีแนสแดกซ์ออกเป็น 2 ช่วง ช่วงแรก ระหว่างปี 1995-1998 พบว่ามีค่าการแกว่งตัว 7.21% ช่วงที่ 2 ระหว่างปี 1999-2002 พบว่ามีค่าการแกว่งตัว 14.28% แสดงว่าดัชนีแนสแดกซ์ได้รับผลกระทบจากการเพิ่มหุ้นที่มีมูลค่าตลาดสูงเข้าไปในการคำนวณดัชนีในปี 1999 จริง

นั่นคือที่มาว่าทำไมตลาดแนสแดกซ์จึงถูโจมตีในปี 1999-2001 ได้ง่าย 



รูปแบบการโจมตี เป็นแบบเดียวกันทุกตลาดหุ้น คือมีการหนุนให้ดัชนีขึ้นไปให้แรงที่สุด จากนั้นก็ถล่มทุบลงมา ข่าวการปรับปรุงตัวหุ้นในการคำนวณดัชนี (Index reform) รับรู้ตั้งแต่ปี 1998 จึงมีการลากดัชนีมาเตรียมพร้อม เมื่อมีการปรับปรุงดัชนีจริงในช่วงปลายปี 1999 จึงมีการกระชากหุ้นขึ้นรวดเร็วและแรง ขึ้นไปสูงสุดในต้นปี 2000 ที่ประมาณ 5,000 จุด จากนั้นก็ถล่มทุบลงมา นายอลัน กรีนสแปน ผู้ว่าการธนาคารกลางของสหรัฐ ต้องออกมาเตือนให้ระวังการลงทุนในหุ้นดอทคอม ดัชนีลงมาต่ำสุดในปลายปี 2001 พอดีมีผู้ก่อการร้ายจี้เครื่องบินเข้าชนตึก World Trade Center(WTC) ที่กรุงนิวยอร์ค เมื่อ 11 กันยายน 2001 ส่งผลให้ดัชนีลงไปต่ำสุดที่ประมาณ 1,500 จุด รวมแล้วจากจุดสูงสุดถึงจุดต่ำสุด ดัชนีตกลงไป 78 เปอร์เซ็นต์ ที่นำเสนอบทความนี้ ในปี 2011 เวลาผ่านไป 11 ปีแล้ว ดัชนีแนสแดกซ์ยังไม่สามารถขึ้นมาถึงจุดเดิมได้  


ผลที่เกิดขึ้นหลังจากการพังทลายของตลาดหุ้น เกิดกับประเทศใด เมื่อใด จะเป็นแบบเดียวกันทุกประเทศ ต่างกันที่มากน้อย

1)   ทำให้ค่าเงินเสียหาย
2)   ทำให้ทุนสำรองลดลง
3)   ทำให้สภาพคล่องของระบบลดลง และเสียหาย
4)   ทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น (เพราะสภาพคล่องเสียหาย)
5)   ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น (เพราะค่าเงินเสียหาย อ่อนค่า)
6)   ทำให้ภาคการเงิน และภาคการผลิตจริงล้มลง และล้มละลาย
7)   ทำให้เกิดภาวะหนี้เสีย เมื่อรัฐเข้าไปอุ้ม ทำให้เกิดหนี้สาธารณะ
8)   ทำให้คนตกงานมาก
9)   ทำให้ต้องเข้าไอเอ็มเอฟ
10) ทำให้ระบบยากจนลง

การพังทลายของตลาดหุ้นแนสแดกซ์ในปี 2000 ส่งผลให้ค่าเงินเหรียญสหรัฐเสียหายด้วย ค่าเงินเหรียญสหรัฐตกลงอย่างมีนับสำคัญเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโรและสกุลเงินเยน(กราฟ) รวมทั้งสกุลเงินต่างทั่วโลก รวมทั้งสกุลเงินบาทด้วย เงินเหรียญสหรัฐไม่ได้รับความเชื่อมั่น ทำให้คนไม่ถือเงินเหรียญสหรัฐและสินทรัพย์ที่อยู่รูปสกุลดอลล่าร์สหรัฐ จึงขายดอลล่าร์แล้วซื้อเงินสกุลอื่นหรือสินทรัพย์ในสกุลเงินอื่นและสินค้าโภคภัณฑ์(เงินไหลออกจากสหรัฐ) ทำให้สภาพคล่องของอเมริกาเสียหาย ทำให้เกิดการล้มลงและล้มละลายของภาคการผลิตจริง และภาคการเงิน เกิดเป็นหนี้เสียตามมา

อเมริกาแก้ปัญหาการขาดสภาพคล่องด้วยการใช้ CDOs (Collateralized debt obligations) และ CDS (A credit default swap) หมายถึงให้สถาบันการเงินกู้เงิน และให้มีการค้ำประกันเงินกู้ มาใช้ในธุรกรรมตลาดเงิน ปรากฏว่าไปไม่รอด ส่งผลมีการล้มละลายอย่างกว้างขวางมากขึ้น และทำให้ความเสียหายสูงมากกว่าปกติขึ้นไปอีก


ความเสียหาย และการล้มละลาย เห็นได้จากกรณี Subprime รวมทั้งการล้มลงของสถาบันการเงินขนาดใหญ่ Enron WorldCom Bear Stern Fannie Mae Freddie Mac Lehman Brothers Merrill Lynch AIG ฯลฯ รัฐบาลอเมริกันต้องเข้าไปอุ้ม ทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปี 2010 หนี้สาธารณะสูงขึ้นมาเป็น 14.29 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ก็ยังไม่เพียงพอ ต้องแก้กฎหมายเพิ่มเพดานหนี้อีก

การโจมตีรูปแบบที่ 2 โจมตีตึกย่านธุรกิจและที่ทำการรัฐบาลสหรัฐตีโดยผู้ก่อการร้าย

เช้าวันที่ 11 กันยายน 2001 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา หรือช่วงหัวค่ำเวลาประเทศไทย ผู้ก่อการร้ายทำการจี้เครื่องบิน 4 ลำ เพื่อพุ่งเข้าชนตึกสำคัญของอเมริกา 2 ลำแรกเข้าโจมตีตึก World Trade Center (WTC) ทำให้ตึกแฝดพังทลายลงทั้ง 2 ตึก ลำที่ 3 บินเข้าชนตึกบัญชาการทางทหารเพนตากอน เครื่องบินลำที่ 4 คาดว่าจะบินเข้าชนทำเนียบขาว แต่ปฏิบัติการไม่สำเร็จ ถูกขัดขวางโดยผู้โดยสาร ทำให้เครื่องบินพลาดเป้าไปตกลงที่ Pennsylvania








10 ปีรำลึกการโจมตีตึกแฝด http://news.yahoo.com/behind-the-scenes-look-at-9-11-memorial.html


ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีการถ่ายทอดภาพทางโทรทัศน์ ผู้คนเห็นและทราบกันทั่วโลก ที่ผู้ก่อการร้ายจี้เครื่องบินเข้าโจมตีตึกที่ทำการสำคัญๆ ทั้งของเอกชนและของรัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันเช้าวันที่  11 กันยายน 2001 (การโจมตีรูปแบบที่ 2)

จากนั้นก็ได้เกิดสงครามแก้แค้นและเอาคืนของอเมริกา โดยยกกองทัพเข้าโจมตีทั้งที่อิรัก และปฏิบัติการกวาดล้างผู้ก่อการร้ายในอัฟกานิสถานและปากีสถาน ล่าสุดที่ปากีสถาน หน่วยซีไอเอของสหรัฐได้สังหารโอซาม่า บิน ลาเดนเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2011 หรือประมาณ 10 ปีหลังการโจมตีตึกแฝดของกรุงนิวยอร์ค แต่ไม่ได้มีการแก้แค้นและเอาคืนกับการโจมตีตลาดหุ้นอเมริการะหว่างปี 1999-2001 แต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะไม่ทราบว่ามีการโจมตีตลาดแนสแดกซ์นั่นเอง

เหล่าบรรดาเฮดจ์ฟันด์ ตลาดหุ้นคือสถานที่ที่เขาทำมาหากิน พวกเขามีความชำนาญ มีข้อมูล มีความรู้ มีความเข้าใจในกลไกความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจมหภาคโลกสูง ทำให้มีกำไรสูง เป็นกอบเป็นกำ จากตลาดหุ้น ตลาดเงิน และตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ เขาจึงเป็นผู้ควบคุม(หรือปั่น)ตลาดทุน ตลาดเงิน ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์

กองทุนโลก กองทุนข้ามชาติ หรือ เฮดจ์ฟันด์ ไม่เคยแยก ว่าเป็นตลาดทุนหรือตลาดเงินของประเทศตะวันตกหรือประเทศตะวันออก ไม่แยก ว่าเป็นของประเทศเกิดใหม่ หรือประเทศเกิดเก่า ไม่ว่าจะเป็นประเทศเล็ก หรือประเทศใหญ่ “เมื่อเขาเห็นจุดอ่อนประเทศใดเกิดขึ้นเมื่อใด" พวกเขาจะรุมจิกแบบไม่เลี้ยงทันที ระหว่างปี 1999 ดัชนีแนสแดกซ์มีการเปลี่ยนแปลงตัวหุ้นในการคำนวณดัชนี ทำให้ดัชนีเบี่ยงเบนสูง อ่อนแอสูง จึงถูกโจมตีอย่างง่ายดาย  

ความเสียหายทางเศรษฐกิจโดยตรงของประเทศสหรัฐอเมริกาหลังการพังทลายของตลาดหุ้นแนสแดกซ์ มีผู้ประเมินไว้ว่ามีมูลค่าสูงถึง 7.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ


ความเสียหาย ตึกคู่แฝด WTC ถูกโจมตี มีมูลค่า 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ คนตาย 3,000 คน

ขนาดเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกา มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เงินเหรียญสหรัฐก็เป็นเงินสกุลที่ใหญ่ที่สุดของโลก กล่าวได้ว่าเงินเหรียญสหรัฐเป็นสกุลเงินของโลกได้ ความเจริญและความเสื่อมของอเมริกา ก็คือความเจริญและความเสื่อมของโลกด้วย ความเสียหายจากการพังทลายของตลาดแนสแดกซ์ เสียหายมากกว่าที่คนทั่วไปจะเข้าใจ ความเสียหายยังเกิดขึ้นต่อเนื่องแบบไม่รู้จบ หาใช่เกิดความเสียหายต่ออเมริกาเพียงประเทศเดียวแต่อย่างใดไม่ แต่ส่งคลื่นความเสียหายกระจายไปทั่วโลก

การพังทลายของเงินเหรียญสหรัฐ  ที่เป็นผลมาจากการพังทลายของตลาดหุ้นแนสแดกซ์เมื่อปี 2000 หมายความค่าเงินเหรียญสหรัฐมีค่าเล็กลง หมายความว่า การซื้อสินค้าและบริการต่างๆด้วยปริมาณเท่าเดิม จะต้องใช้เงินเหรียญสหรัฐมากขึ้น จึงทำให้เห็นว่าสินค้าและบริการนั้นราคาสูงขึ้น



จะเห็นว่าราคาทองคำและน้ำมัน มีราคาสูงขึ้น

ราคาทองคำ และราคาน้ำมันเริ่มขึ้นหลังปี 2000 (หลังการพังทลายของเงินเหรียญสหรัฐ) ราคาทองคำยังขึ้นต่อเนื่องถึงปี 2011 ซึ่งขึ้นมา 525 เปอร์เซ็นต์แล้ว ส่วนราคาน้ำมันขึ้นมาถึงกลางปี 2008 ขึ้นมา 683 เปอร์เซ็นต์ แล้วราคาก็ปรับตัว ราคาแร่โลหะทั่วไป ราคาถั่วเหลือง ราคามันสัมปะหลัง ราคายางพารา ราคาน้ำตาล ฯลฯ ล้วนสูงขึ้นทั้งหมด (เพราะมูลค่าเงินเหรียญสหรัฐมันเล็กลง)

ก็คือเงินเฟ้อโลกสูงขึ้นนั่นเอง

คนไม่รู้ว่ามีการโจมตีตลาดหุ้น รู้แต่ว่ามีการโจมตีตึกคู่แฝดในกรุงนิวยอร์ค ต้นเหตุความเสียหายอย่างรุนแรงที่เกิดกับประเทศสหรัฐอเมริกาหาใช่ผู้ก่อการร้ายนอกประเทศแต่อย่างใดไม่ หาใช่ผู้ก่อการร้ายที่จี้เครื่องบินพุ่งเข้าชนตึก  World Trade Center แต่อย่างใดไม่ แต่แท้จริงคือบรรดากองทุนโลก ที่โจมตีตลาดแนสแดกซ์ต่างหาก

เมื่อประเทศต่างๆและโลกไม่ตระหนักว่าต้นเหตุอะไรที่ทำให้เกิดหนี้ แล้วจะแก้ปัญหาหนี้ได้อย่างไร การแก้ปัญหาหนี้ก็ต้องแก้ที่ต้นเหตุที่ทำให้เกิดหนี้ การใช้แต่เงินในการแก้ปัญหาหนี้ เป็นเพียงการแก้ปัญหาหนี้ที่ปลายเหตุ แล้วเช่นนี้หนี้เสียจะยุติได้อย่างไร

หากตลาดหุ้นยังมีอยู่ในอเมริกา และมีในประเทศต่างๆ ภูมิภาคต่างๆในโลก ก็จะพบกับความยากจนลงตลอดเวลา เงินเฟ้อและค่าครองชีพจะสูงขึ้นตลอดเวลา  ผู้คนส่วนใหญ่ของโลกจะไม่มีความสุข และจะเดือดร้อนเพิ่มขึ้นตลอดเวลา เหมือนกับความเดือดร้อนที่เกิดจากปัญหาเงินเฟ้อ หนี้ท่วมประเทศต่างๆเวลานี้

การโจมตีรูปแบบที่ 2 หรือการโจมตีตึกแฝดกลางกรุงนิวยอร์คโดยผู้ก่อหารร้าย ก็เสียหาย แต่ไม่ร้ายแรงเท่าการโจมตีแบบที่ 1 การโจมตีรูปแบบที่ 1 หรือการโจมตีตลาดหุ้นโดยบรรดากองทุนโลก อันตรายร้ายแรงที่สุด เกิดความเสียหายมากที่สุด ส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อหรือค่าครองชีพสูงไปทั่วโลก เดือดร้อนไปทั่วโลก เกิดการล้มละลายและเกิดหนี้กองใหญ่ ช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ประเทศสหรัฐอเมริกาต้องปรับเพดานหนี้ให้สูงขึ้นทุกปี รวมทั้งการปรับเพดานหนี้เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2011 ที่ผ่านมา ก็เป็นผลพวงมาจากการโจมตีตลาดแนสแดกซ์ระหว่างปี 1999-2000 นั่นเอง


เรื่องคล้ายกัน นำเสนอครั้งแรก วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน 2551 ที่ http://bit.ly/q2FjA1



หมายเหตุ : DJIA Index เป็นดัชนีราคา (Priced weighted index) เกิดในปี 1889 หรือเมื่อประมาณ 122 ปีมาแล้ว NASDAQ Index เป็นดัชนีมูลค่าตลาด (Market capitalized weighted index) เกิดเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 1971 หรือเมื่อประมาณ 40 ปีมาแล้ว

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การแก้ปัญหาเพดานหนี้ประเทศสหรัฐอเมริกา บอกว่าเงินเฟ้อโลกจะยังคงสูงขึ้นต่อไป


แท้จริงประเทศสหรัฐอเมริกาได้ความเสียหายทางเศรษฐกิจมาโดยตลอด  ประเทศสหรัฐอเมริกาเคยประสบภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งรุนแรงเมื่อปี 1929 รู้จักกันในชื่อ The Great Depression ช่วงดังกล่าวดัชนีดาวโจนส์ตกลงประมาณ 89 เปอร์เซ็นต์ ช่วงนั้นความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศต่างๆของโลก ไม่ได้มีรูปแบบที่หลากหลายเช่นทุกวันนี้ ส่วนใหญ่เป็นธุรกรรมซื้อขายของภาคการผลิตจริง ความเสียหายจึงอยู่ในวงแคบ

ไม่เหมือนทุกวันนี้ มีเรื่องของการซื้อขายกระดาษ คือการซื้อขายของในตลาดหุ้น และตลาดสินค้าล่วงหน้าเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่กว่าตลาดซื้อขายสินค้าจริงมาก เช่นการซื้อขายทองคำล่วงหน้า (Gold Futures) มีขนาดใหญ่กว่าการซื้อทองคำที่บริโภคจริง 8-9 เท่าตัว 

ธุรกรรมการซื้อขายกระดาษ ไม่ต้องมีที่ดิน ไม่ต้องโรงงาน ไม่ต้องมีโกดังเก็บสินค้า ไม่ต้องมีคนงาน ไม่ต้องมีการขนส่ง นั่งทำธุรกรรมที่หน้าคอมพิวเตอร์ ห้องแอร์ สามารถกดคีย์บอร์ดคำสั่งซื้อขายกระดาษในรูปแบบต่างๆไปได้ทั่วโลกตลอด 24 ชั่วโมง รับจ่ายเงินก็ทำผ่านบัญชีของสถาบันการเงินของผู้ซื้อ-ผู้ขาย

การซื้อขายกระดาษ หรือซื้อขายตัวเลขในกระดาษ ให้นึกถึงการซื้อขายล๊อตเตอรี่ ซื้อขายหวยบนดินใต้ดิน ที่เห็นได้ชัดเจนว่าเป็นอบายมุข ที่ไม่ได้ทำให้เกิดผลิตผลแก่ระบบ (No products added ) ไม่เหมือนปลูกข้าว ปลูกข้าวยังมีเมล็ดข้าวเกิดขึ้น  

ลองดูวิธีคิดแบบเปรียบเทียบ

วิธีคิดแบบที่ 1
สมมุติคนทั้งโลก มี 10 คน หากคนทั้ง 10 คนนี้ทำการซื้อขายกระดาษ หรือซื้อขายตัวเลขในกระดาษ ซื้อหวย เตะบอล ตีกอล์ฟ ตีเทนนิสอาชีพ แสดงหนัง เล่นละคร ประกวดความงาม แล้วจะเอาอะไรมากิน จะมีอะไรกิน ก็อดตาย ตายทั้งหมด

วิธีคิดแบบที่ 2
คนทั้งโลก มี 10 คน หากคนทั้ง 10 คนนี้ ทำนาทำไร่ ปลูกข้าว ปลูกถั่วปลูกงา ก็ทำให้มีข้าว มีถั่ว มีงา ไว้รับประทาน ไม่อดตาย

แสดงให้เห็นว่า ธุรกรรมการซื้อขายกระดาษ คือธุรกรรมอบายมุข คือธุรกรรมที่เอารัดเอาเปรียบภาคการผลิตจริง เกิดจากความคิดแบบตะวันตก ที่ขาดความลึกซึ้ง ทำให้เกิดความเดือดร้อนไปทั้งโลก


พระพุทธเจ้าสอนไว้แล้ว “เงินทองคือของมายา แต่ข้าวปลาเป็นของจริง" ศีลข้อ 10 ก็บอกไว้ “ให้เว้นจากการรับทองและเงิน” พิจารณาตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ทำให้ทราบถึงจุดอ่อนของระบบเศรษฐกิจทุนนิยมอยู่ตรงไหน และระบอบเศรษฐกิจวิถีพุทธเป็นระบบอบที่ดีที่สุดในโลก

อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค คือปัจจัยสี่ เป็นสิ่งจำเป็นของชีวิต อาชีพที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยสี่ เป็นอาชีพที่ไม่เอารัดเอาเปรียบระบบ

กิเลส ทำให้คนทั่วโลกไปเอาตามอย่างตะวันตก อยากร่ำอยากรวย เอารัดเอาเปรียบส่วนอื่น ทุกวันนี้ตะวันตกยากจนหนัก หนี้ท่วมประเทศ ไม่ว่าอเมริกาหรือยุโรป ที่ไม่รู้จักว่า อบายมุขคืออะไร 

ได้มีการสร้างอาชีพที่ไม่ทำให้เกิดผลผลิตมากขึ้นอีก ได้แก่กีฬาอาชีพต่างๆ ฟุตบอลอาชีพ เทนนิสอาชีพ กอล์ฟอาชีพ การแสดงอาชีพ ประกวดความงาม ซีเลบริตี้ การโฆษณาสุดลิ่ม ฯลฯ ค่าตัวและรายได้เป็นร้อย เป็นพันล้าน ได้ยืดกัน ดูไทเกอร์ วูดส์ ยืดขนาดไหน มอมเมา อดหลับนอนกันตี 3 ตี 4 เพื่อดูบอล

“วันหนึ่งๆมีบอล ตามมุมต่างๆของโลก ถ่ายทอดผ่านเคเบิลทีวี ดูได้กันทั่วโลก เตะกันหลายสิบคู่ ไม่มีเมล็ดข้าวเกิดขึ้นแม้แต่เมล็ดเดียว” เป็นธุรกรรมขายความบันเทิง พระพุทธเจ้าก็สอนเรื่องการบันเทิงไว้ไว้เช่นกัน ศีลข้อ 7 เว้นจากฟ้อนรำขับร้อง ฯลฯ ศีลข้อ 8 เว้นจากการทัดดอกไม้ ฯลฯ เรื่องเหล่านี้ประยุกต์บอกว่า อาชีพเอ็นเตอร์เทนขายบันเทิงที่กล่าวข้างต้น เป็นอบายมุข นำพาความเสื่อมมาสู่โลก

อีกวลีหนึ่งที่โบราณว่าไว้ “สุรา นารี (เที่ยวกลางคืน รวมดู การละเล่น โขน หนัง ละคร) พาชี (การพนัน) กีฬาบัตร (การพนัน)“ เป็นอบาย เรื่องเช่นนี้ตะวันตกไม่รู้จัก ที่อังกฤษมีการ พนันที่ถูกต้องตามกฎหมายหลายรูปแบบ การถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ได้หมายความว่าถูกต้องทางศีลธรรม

ตลาดอนุพันธ์ (Futures) อิงแอบเอา ตัวเลขดัชนี ตัวเลขราคาสิ่งของ ตัวเลขราคาหุ้นมาซื้อขายกัน ใช้เงินค้ำประกัน 10 บาท ซื้อขายตัวเลขได้ 100 บาท นั่นคือซื้อขายกัน 10 บาท แต่ได้เสียกันเป็น 100 บาท


ตลาดหุ้น อบายมุขกองโตที่สุดในโลก

มีการสวมรอยปั่นให้ราคาสูง-ต่ำผิดจริงได้มาก ทำให้สภาพคล่องของระบบผันผวนมาก

บางครั้งก็ท่วมระบบ (ทำให้กิจการขยายตัวมาก)

บางครั้งก็เหือดแห้งไปจากระบบ (ทำให้กิจการล้มลงและล้มละลาย) หรือภาคการผลิตจริง (Real Trade) ล้มละลาย

ภาคการซื้อขายกระดาษ (Paper Trade) นักลงทุนท้องถิ่นล้มละลาย แต่ Hedge Fund มั่งคั่ง ส่งผลให้เงินท่วมโลก ทุกวันนี้สินทรัพย์ของทั่วโลกตกเป็นของ Hedge Fund แทบหมดแล้ว เงินที่อยู่ตามธนาคารกลางของประเทศต่างๆ เป็นเงินของบรรดา Hedge Fund เขาจะนำมาเพิ่ม หรือเขาจะย้ายออกไปประเทศไหน เมื่อใด ก็ได้

เงินท่วมโลกแต่โลกยากจนลง http://t.co/6MDDTNB อนาคต หากรูปการยังเป็นไปในรูปแบบนี้ คนฝากเงิน จะต้องจ่ายค่าฝากเงินให้กับธนาคาร ไม่ใช้ได้ดอกเบี้ยจากธนาคาร



ปี 2000-2002 ตลาดแนสแดกซ์ตกลงแรง 78 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้ค่าเงินเหรียญสหรัฐตกลงตามตลาดหุ้น (ดูกราฟ)

ทำให้มีการขายหุ้น ขายสินทรัพย์ในอเมริกา ขนเงินมาลงทุนนอกอเมริกา ทำให้ทุนสำรองประเทศต่างๆสูงขึ้น โดยเฉพาะทุนสำรองของประเทศจีน พุ่งขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ของโลก เวลาเดียวกัน ทุนสำรองของประเทศไทยก็พุ่งสูงขึ้น จนสามารถนำไปใช้หนี้ไอเอ็มเอฟหมดก่อนกำหนดในเดือนกรกฎาคม 2003 ที่อดีตนายกทักษิณแอบอ้างว่าเป็นฝีมือของเขา


การพังทลายของตลาดแนสแดกซ์ในปี 2000 กว่าจะเห็นว่าสภาพคล่องเสียหายจริงจัง ก็เมื่อเวลาผ่านไปแล้ว 4-5 ปี หรือปี 2004 – 2005 คล้ายที่ตลาดหุ้นของประเทศไทยพังทลายในปี 2537 ถึงปี 2540 จึงพบว่าสภาพคล่องเสียหายหนัก ต้องเข้าโครงการไอเอ็มเอฟ

หนี้มากมายเกิดจากอะไร? เมื่อแนวโน้มดอลลาร์เสียหาย คนไม่ถือดอลลาร์ เงินไหลออกจากอเมริกา ทำให้สภาพคล่องของประเทศอเมริกาเสียหาย ส่งผลให้ภาคการเงินและภาคการผลิตจริงเสียหาย เห็นได้จากกรณี Subprime และการล้มลงของ  Enron  WorldCom Bear Stern Fannie Mae Freddie Mac Lehman Brothers  Merrill Lynch  AIG ฯลฯ รัฐบาลอเมริกันต้องเข้าไปอุ้ม ทำให้หนี้สาธารณะสูงขึ้น

อเมริกาแก้ปัญหาการขาดสภาพคล่องด้วยการตั้ง CDOs (Collateralized debt obligations) และ CDS (A credit default swap) หมายถึงให้สถาบันการเงินกู้เงิน และให้มีการค้ำประกันเงินกู้ มาใช้ในธุรกรรมตลาดเงิน ส่งผลให้การล้มละลายต่างๆดังกล่าวสูงกว่าปกติมาก

4 ปีที่ผ่านมา หนี้เพิ่มขึ้นทุกปี
ปี 2007 ระดับหนี้อยู่ที่ 7.38 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
ปี 2008 ระดับหนี้อยู่ที่ 11.32 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
ปี 2009 ระดับหนี้อยู่ที่ 12.39 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
ปี 2010 ระดับหนี้อยู่ที่ 14.29 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ

ช่วงระยะเวลา 4 ปี ปี 2007 – 2010 เพดานหนี้เพิ่มจาก 7.38 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ มาเป็น 14.29 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มเกือบเท่าตัว (94 เปอร์เซ็นต์)


นักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งบอกว่า หนี้ของอมริกาเกิดจากการมีค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายรับ เช่นโครงการประชานิยม โครงการประกันสังคม โครงการประกันสุขภาพ โครงการอวกาศ และการทำสงครามทางทหาร ก็มีส่วน แต่ค่าใช้จ่ายเหล่านั้น น้อยกว่าค่าใช้จ่ายของรัฐบาลอเมริกันที่ใช้อุ้มสถาบันการเงินที่ล้มจากวิกฤตเศรษฐกิจ ที่เป็นผลมาจากการพังทลายของตลาดแนสแดกซ์ในปี 2000

หลายประเทศ รวมทั้งยุโรปเช่น กรีก อิตาลี ปอร์ตุเกส ฮังการี ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ ยูเครน ปากีสถาน ฯลฯ ประเทศเหล่านี้ไม่มีสงคราม แต่ก็เกิดหนี้ท่วมประเทศเช่นกัน จนต้องพึงพากองทุนการเงินระหว่างประเทศและประชาคมยุโรป



วันที่ 2 สิงหาคม 2554 ถึงกำหนดชำระหนี้ แต่รัฐบาลอเมริกาไม่มีเงิน ทำเนียบขาวจึงต้องหาทางออกกฎหมายเพิ่มเพดานหนี้  ขอพึ่งกฎหมาย เพื่อให้สามารถกู้เงินมาชำระหนี้เพิ่ม

ตามรายละเอียดข้อตกลงของทำเนียบขาว และวุฒิสมาชิก (วันที่ 31 กรกฎาคม 2554) เพิ่มเพดานหนี้อย่างน้อย 2.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ให้ชะลอการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่าย 2-3 ล้านล้านเหรียญในช่วง 10 ปีข้างหน้า ยอมให้มีการกู้ยืมเงินให้เพียงพอถึงปี 2013 งบประมาณ 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐจะต้องถูกตัดลงโดยทันที งบประมาณของกองทัพลดลงอย่างน้อย 350,000 ล้านดอลลาร์ภายใน 10 ปีข้างหน้า การตัดลดงบประมาณ ยังคงในความดูแลของคณะกรรมการทั้ง 2 ฝ่าย

นั่นคือเพดานหนี้ปี 2011-2013 จะขึ้นมาเป็น 16.39 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งไม่แน่ว่า ตามความเป็นจริงแล้ว ตัวเลขดังกล่าวจะเป็นตัวเลขที่ถูกต้องแล้ว หรือพอดีแล้ว



ความเสียหายของค่าเงินเหรียญสหรัฐ ที่เป็นผลมาจากการพังทลายของตลาดหุ้นแนสแดกซ์เมื่อปี 2000 หมายความค่าเงินเหรียญสหรัฐมีค่าเล็กลง นั่นคือ การซื้อสินค้าและบริการต่างๆด้วยปริมาณเท่าเดิม จะต้องใช้เงินเหรียญสหรัฐมากขึ้น จึงทำให้เห็นว่าสินค้าและบริการนั้นราคาสูงขึ้น

จะเห็นว่าราคาทองคำและน้ำมัน มีราคาสูงขึ้น ราคาทองคำ และราคาน้ำมันเริ่มขึ้นหลังปี 2000 (หลังการพังทลายของเงินเหรียญสหรัฐ) ราคาทองคำยังขึ้นต่อเนื่องถึงปี 2011 ซึ่งขึ้นมา 525 เปอร์เซ็นต์แล้ว ส่วนราคาน้ำมันขึ้นมาถึงกลางปี 2008 ขึ้นมา 683 เปอร์เซ็นต์ แล้วก็ปรับตัวลงรวดเร็วถึงต้นปี 2009 และตอนนี้ราคาได้เริ่มไต่ระดับขึ้นมาใหม่แล้ว  

ราคาพลังงานโลกสูงขึ้น เป็นที่มาของเงินเฟ้อโลกสูงขึ้น 


การพังทลายของแนสแดกซ์และค่าเงินเหรียญสหรัฐ คือต้นเหตุเงินเฟ้อโลกสูงขึ้น


เงินเฟ้อโลกเริ่มสูงขึ้นตั้งแต่ปี 2000

แต่ปัญหาหนี้ของอเมริกา ที่เก็บเงียบไว้นาน ก็โผล่ให้ขึ้นมาให้เห็นว่าเป็นปัญหา วันที่ 2 สิงหาคม 2554 เป็นกำหนดเส้นตาย ว่าการแก้ไขปัญหาจะออกมาในรูปใด ซึ่งสรุปผลไว้แล้วในช่วงกลางของบทความนี้ 

ขนาดเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก เงินเหรียญสหรัฐเป็นเงินที่มีส่วนแบ่งสูงสุดในโลก กล่าวได้ว่าเงินเหรียญสหรัฐ เป็นสกุลเงินของโลกได้

ดูวิธีการแก้ปัญหาแล้ว เห็นเป็นเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ

ตลาดหุ้นคือต้นเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจอเมริกาเกิดวิกฤตรุนแรงมา 2 ครั้งแล้ว และทำเศรษฐกิจ-สังคม-การเมืองของอเมริกาเสียหายต่อเนื่องตลอด 82 ปีที่ผ่านมา ทำให้ค่าเงินเหรียญสหรัฐเสียหาย ทำเงินเฟ้อของอเมริกาและของโลกสูงขึ้น

ความเสียหายทางเศรษฐกิจของอเมริกา ยุโรป และประเทศต่างๆ มีต้นเหตุมาจากเรื่องเดียวกัน มีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างมีนัยสำคัญ

ตลาดหุ้นคืออบายมุขกองโตที่สุดในโลก คือสิ่งผิดปกติในระบบเศรษฐกิจ ก่อความเดือดร้อนไปทั่วโลก ทำให้เศรษฐกิจของโลกเสียหายตลอดเวลา

ให้โลกมีตลาดเงินตลาดเดียวก็พอแล้ว

เมื่อโลกไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุของปัญหา ปัญหาก็ยังคงอยู่ ประชาชนโลกจะพบกับความเดือดร้อนที่รุนแรงขึ้น เดือดร้อนจากเงินเฟ้อ หรือค่าครองชีพที่สูงขึ้น ต่อเนื่อง อย่างเหลือเชื่อ

..