วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Hamburger Crisis

1999-2002 มีการโจมตีประเทศสหรัฐอเมริกา 2 รูปแบบ

1) 1999-2003 มีการโจมตีตลาดหุ้นแนสแดกซ์ โดยกองทุนโลก หรือ Hedge Fund ก่อให้เกิดความเสียหายสูงมาก ไม่ใช่เป็นความเสียหายเฉพาะที่ แต่เป็นความเสียหายของระบบ ไม่ได้เกิดความเดือดร้อนเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น แต่เกิดความเสียหายไปทั่วโลก เป็นเหตุให้เงินเฟ้อ หรือค่าครองชีพของโลกสูงขึ้น 

การปรับปรุงตัวหุ้นในการคำนวณดัชนีแนสแดกซ์ในปี 1999 (Index reform) โดยนำหุ้นที่มีมูลค่าตลาดสูงเพิ่มเข้ามาในการคำนวณดัชนี ยกตัวอย่างหุ้นไมโครซอฟท์ ทำให้ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของดัชนีสูงขึ้นมาก (Standard deviation) ทำให้ดัชนีอ่อนแอสูง จึงถูกปั่นได้ หรือถูกโจมตีได้ง่าย ทำให้ดัชนีถูกลากขึ้นไปสูงในต้นปี 2000 ที่ 5,000 จุด แล้วก็ถล่มทุบลงให้พังทลายลงอย่างรุนแรง และลงไปต่ำสุดที่ 1,114 จุดในปี 2002

เป็นเช่นนี้ทุกตลาดทั่วโลก.. ตลาดหุ้นพังทลาย ทำให้ค่าเงินพังทลาย..
การพังทลายของตลาดแนสแดกซ์ ทำให้ค่าเงินเหรียญสหรัฐพังทลายลงด้วย

ค่าเงินเหรียญสหรัฐเริ่มพังทลายลงหลังปี 2000 เมื่อเทียบกับเงินทุกสกุล รวมทั้งสกุลเงินบาท และสุกลเงินที่ใหญ่อันดับที่ 2 และ 3 ของโลกคือสกุลเงิน EURO (EUR) และสกุลเงิน YEN ตามที่เห็นในภาพ

เงินเหรียญสหรัฐเป็นสกุลเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก ถือว่าเป็นสกุลเงินของโลก การพังทลายของเงินเหรียญสหรัฐ ทำให้เงินเฟ้อโลกเพิ่มขึ้นรุนแรง นำความเสียหาย นำความเดือดร้อนมาสู่ชาวโลกอย่างทารุณ

กลไก (Mechanism)

เมื่อเงินสหรัฐเสียหาย ไม่ได้รับความเชื่อมั่น คนก็ไม่ถือเงินเหรียญสหรัฐ หรือทำให้ “ของ”นอกดอลลาร์โซนราคาถูกเมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐ จึงนำดอลลาร์ไปซื้อ “ของ” นอกดอลลาร์โซน ของเหล่านั้น ได้แก่เงินประเทศต่างๆ ตลาดหุ้นประเทศต่างๆ สินค้าโลหะคงทนต่างๆ สินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ รวมทั้งธุรกรรมการบริการต่างๆ เช่นธุรกรรมการส่งการเดินทาง เช่นเครื่องบินและการเดินเรือสมุทรเป็นต้น ทำให้ "ของ" เหล่านั้นราคาสูงขึ้น

ราคา “ของ” เริ่มสูงขึ้นตั้งแต่ปี 2001-2002 และไต่ระดับสูงขึ้นไปถึงปลายปี 2007 ขึ้นมาสูงมาก จากนั้นราคานั้นก็พังทลายลงในปี 2008 คนในวงการให้ชื่อมันว่า “Hamburger Crisis” ขอนำเสนอราคา “ของ” ที่สูงขึ้น แล้วพังทลายลงเป็น Hamburger Crisis ที่เป็นผลจากค่าเงินเหรียญสหรัฐเสียหายหลังปี 2000 ต่อไปนี้  

G92-Index คือค่าเฉลี่ยดัชนีตลาดหุ้นประเทศต่างๆทั่วโลก 92 ประเทศ

จากปี 2001 ตลาดหุ้นโลก G92-Index ใช้เวลาประมาณ 6 ปี ถึงปลายปี 2007 สูงขึ้น 463 เปอร์เซ็นต์ แล้วจึงพังทลายลงในปี 2008 ลงไป 62 เปอร์เซ็นต์เป็น “Hamburger Crisis” แล้วจึงมีการฟื้นตัวขึ้นใหม่




ASIA28-Index คือค่าเฉลี่ยดัชนีตลาดหุ้นในเอเชีย 28 ประเทศ

จากปี 2001 ASIA28 Index ใช้เวลาประมาณ 6 ปี ถึงปลายปี 2007 สูงขึ้น 460 เปอร์เซ็นต์ แล้วจึงพังทลายลงในปี 2008 ลงไป 55 เปอร์เซ็นต์เป็น “Hamburger Crisis” แล้วจึงมีการฟื้นตัวขึ้นอีก




ASEAN7-Index คือค่าเฉลี่ยดัชนีตลาดหุ้นอาเซียน 7 ประเทศ

จากปี 2001 ตลาดหุ้น ASEAN7 Index ใช้เวลาประมาณ 6 ปี ถึงปลายปี 2007 สูงขึ้น 399  เปอร์เซ็นต์ แล้วจึงพังทลายลงในปี 2008 ลงไป 55 เปอร์เซ็นต์เป็น “Hamburger Crisis” แล้วจึงมีการฟื้นตัวขึ้น



                                                                                                                                                                                                                                             THAILAND - Index แสดงถึงผลกระทบต่อ SET Index, Baht & International reserve

ได้รับผลการทบจากเงินไหลเข้าในปีหลังการพังทลายลงของตลาด แนสแดกซ์ในปี 2000 เช่นกัน หุ้นขึ้นมาระดับหนึ่ง จากนั้นตลาดหุ้นก็พังทลายลงในปี 2008 ในเวลาเดียวกัน ก็ส่งผลให้ค่าเงินบาทตกลง และทุนสำรองการเงินระหว่างประเทศก็ลดลงด้วย เป็น Hamburger Crisis เช่นเดียวกัน  


EUROPE39-Index คือค่าเฉลี่ยดัชนีตลาดหุ้นยุโรป 39 ประเทศ

จากปี 2001 EUROPE39-Index ใช้เวลาประมาณ 6 ปี ถึงปลายปี 2007 สูงขึ้น 365 เปอร์เซ็นต์ แล้วจึงพังทลายลงในปี 2008 ลงไป 71 เปอร์เซ็นต์เป็น “Hamburger Crisis” แล้วจึงฟื้นตัว




เงินเหรียญสหรัฐไหลเข้าซื้อเงินของของประเทศต่างๆ ทั่วโลก

ทำให้เงินของประเทศต่างๆแข็งค่าขึ้นประมาณ 6 ปี แล้ว ยกตัวอย่างเช่น เงินยูโร เงินเยน เงินดอลลาร์อาเซียน แล้วค่าเงินก็พังทลายลงในปี 2008 หรือพังทลายลงในเวลาเดียวกันกับการพังทลายของตลาดหุ้น



เงินยูโร แข็งขึ้น 81 เปอร์เซ็นต์ และปรับตัวลง 22 เปอร์เซ็นต์ ใน Hamburger Crisis ปี 2008
เงินเยน แข็งขึ้น 35 เปอร์เซ็นต์ และปรับตัวลง 9 เปอร์เซ็นต์ ใน Hamburger Crisis ปี 2008
เงินอาเซียนดอลลาร์ แข็งขึ้น 25 เปอร์เซ็นต์ และปรับตัวลง 16 เปอร์เซนต์ ใน Hamburger Crisis ปี 2008

สังเกตว่าเงินยูโร ขึ้นและลง แรงกว่าอีก 2 สกุลเงิน ที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของยุโรปทั้งระบบ ทำให้สภาพคล่องเสียหาย และเกิดหนี้เสียในช่วงท้าย ไม่ว่า ไอร์แลนด์ ไอซ์แลนด์ ปอร์ตุเกส กรีซ สเปน อิตาลี ฯลฯ 

ผลต่อราคาสินค้าโภคภัฑณ์เช่น ทองคำ น้ำมัน

การอ่อนค่าของเงินเหรียญสหรัฐ ในการซื้อ “ของ” ในปริมาณเท่ากัน จึงต้องใช้ปริมาณเงินมากขึ้นกว่าเดิม จึงทำให้เห็นว่าของเหล่านั้นราคาสูงขึ้น จึงส่งผลให้ราคาทองคำและราคาน้ำมันสูงขึ้น สังเกตว่าราคาทองคำและราคาน้ำมันสูงขึ้นหลังปี 2000 หรือหลังการพังทลายของตลาดหุ้นแนสแดกซ์และค่าเงินเหรียญสหรัฐ

ปี 2008 ราคาทองคำ และ น้ำมันก็ตกลงเช่นเดียวกับการตกลง ของตลาดหุ้นและตลาดเงิน โดยเฉพาะราคาน้ำมันตกแรงและเร็วมาก ภาพการตกของราคาน้ำมัน ใช้เวลาประมาณ 6 เดือนเท่านั้น ราคาน้ำมันเป็นตัวชี้นำนำการปั่นหุ้น ถ้าราคาน้ำมันขึ้น หุ้นโลกก็ขึ้น ถ้าราคาน้ำมันตก หุ้นโลกก็ตก  ถ้าราคาน้ำมันขึ้นแรง หุ้นโลกก็ขึ้นแรง  ถ้าราคาน้ำมันตกแรง หุ้นโลกก็ตกแรง

ปี 2000 คือจุดเริ่มต้นของวิกฤตเศรษฐกิจโลก

การที่ "ราคาของ" ต่างๆสูงขึ้น ก็คือเงินเฟ้อโลกสูงขึ้น หรือค่าครองชีพโลกสูงขึ้น คนเดือดร้อนกันทั่วโลก ประชาชนหลายประเทศออกมาเดินขบวนบ้าง จลาจลบ้าง เห็นแล้วเป็นที่เวทนา

จลาจลที่อียิปต์
จลาจลที่บาห์เรน












ประท้วงที่สเปน

ประท้วงที่กรีซ










อิตาลี













2) 11/9/2001 การโจมตีตึกคู่แฝด World Trade Center ใจกลางกรุง New York โดยผู้ก่อการร้าย การโจมตีนี้ แม้จะเห็นภาพความเสียหาย แต่เป็นความเสียหายเฉพาะที่ ไม่ใช่ความเสียหายต่อระบบ ความเสียหายจึงไม่มาก เกิดความเสียหายเฉพาะกับอเมริกา เป็นความเสียหายเชิงสัญลักษณ์มากกว่า 

สองรูปแบบการโจมตีประเทศสหรัฐอเมริกา http://t.co/bMxYw4m



สรุปกลไกการเกิด Hamburger Crisis เกิดจากการพังทลายของตลาดแนสแดกซ์ในปี 2000 ที่ทำให้ค่าเงินเหรียญสหรัฐพังทลายด้วย ทำให้เงินไหลออกจากอเมริกา มาซื้อเงิน มาซื้อหุ้น ซื้อสินค้าโภคภัณฑ์ ทำให้ราคาของเหล่านั้น ขึ้นมาสูงสุดที่ปลายปี 2007 จากนั้นราคาก็พังทลายลง(รุนแรง)ตลอดปี 2008 เรียกว่าเป็นวิกฤต Hamburger ทำความเดือดร้อนไปทั่วโลก 


เรื่องคล้ายๆกัน http://thaiworldcom.blogspot.com/2009/01/blog-post.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น