วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สองรูปแบบการโจมตีอเมริกา

.

.
การโจมตีรูปแบบที่ 1  โจมตีตลาดแนสแดกซ์โดยบรรดากองทุนโลกหรือบรรดาเฮ็ดจ์ฟันด์

ดัชนีชี้นำตลาดหุ้นคือค่าตัวกลางอย่างหนึ่ง ที่ใช้สะท้อนภาพรวมของตลาดหุ้น ดัชนีชี้นำตลาดหุ้นต่างๆมีความผันผวนต่างกัน บางตัวผันผวนมาก บางตัวผันผวนน้อย ยกตัวอย่างเช่นดัชนีตลาดหุ้นของประเทศไทย SET50 ผันผวนมากที่สุด SET100 ผันผวนรองลงมา ส่วน SET ผันผวนน้อยกว่า 2 ตัวแรก แต่ SET ก็ผันผวนสูงเป็นอันดับที่ 7 ของโลก การวัดความผันผวนของดัชนี สามารถดูได้จากค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มข้อมูลที่ใช้สร้างดัชนี เช่นกลุ่มข้อมูล “มูลค่าตลาดหุ้น” หรือกลุ่มข้อมูล “ราคาหุ้น” แต่หากหา กลุ่มข้อมูล มูลค่าตลาดหุ้นหรือกลุ่มข้อมูลราคาหุ้นมาวัดค่าไม่ได้ เราก็สามารถนำค่าการแกว่งตัวของดัชนี (swing) ในแต่ละช่วงเวลามาพิจารณาค่าความแรงของการแกว่งตัวของดัชนีได้

ทำไมผู้เขียนจึงเอาเรื่องการผันผวนหรือการแกว่งตัวของดัชนีมานำเสนอ

ทั้งนี้เพราะเกี่ยวข้องกับการปั่นดัชนีหุ้น ดัชนีหุ้นที่มีค่าการแกว่งตัวสูงหรือเบี่ยงเบนสูงจะถูกปั่นได้ง่าย ดัชนีหุ้นที่มีค่าการแกว่งตัวต่ำหรือเบี่ยงเบนต่ำจะถูกปั่นได้ยาก

ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเจ้าแห่งข้อมูล เฉพาะดัชนีตลาดหุ้นก็มีเป็น 100 ดัชนี ดัชนีที่ผู้เขียนนำเสนอนี้ เป็นส่วนหนึ่งของดัชนีตลาดหุ้นของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เป็นที่รู้จักกันพอสมควร เรียงลำดับความแรงการแกว่งตัวของดัชนีจากมากไปหาน้อยดังนี้ 1) NASDAQ 14.28% 2) RUSSELL2000 8.24% 3) S&P500 8.04% 4) DJIA (Dow Jones) 7.91% 5) NYSE 7.15% 6) AMEX 5.54% จะเห็นว่า NASDAQ มีค่าการแกว่งตัวสูงที่สุด

สาเหตุที่ดัชนีแนสแดกซ์แกว่งตัวแรง จนกลายเป็นดัชนีที่แกว่งตัวแรงที่สุดของตลาดหุ้นอเมริกา เพราะในปี 1999 ได้มีการนำหุ้นกลุ่มที่มีมูลค่าตลาดสูง 3-4 ตัว เช่นหุ้นบริษัทไมโครซอฟท์ (MSFT) รวมเข้าไปในการคำนวณดัชนี มีผลทำให้ดัชนีแนสแดกซ์มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสูงขึ้นมาทันที ทำให้การแกว่งตัวของดัชนีสูงขึ้น หรืออ่อนแอมากขึ้น ถูกโจมตีได้ง่ายขึ้น

ผู้เขียนได้แยกวัดค่าการแกว่งตัวของดัชนีแนสแดกซ์ออกเป็น 2 ช่วง ช่วงแรก ระหว่างปี 1995-1998 พบว่ามีค่าการแกว่งตัว 7.21% ช่วงที่ 2 ระหว่างปี 1999-2002 พบว่ามีค่าการแกว่งตัว 14.28% แสดงว่าดัชนีแนสแดกซ์ได้รับผลกระทบจากการเพิ่มหุ้นที่มีมูลค่าตลาดสูงเข้าไปในการคำนวณดัชนีในปี 1999 จริง

นั่นคือที่มาว่าทำไมตลาดแนสแดกซ์จึงถูโจมตีในปี 1999-2001 ได้ง่าย 



รูปแบบการโจมตี เป็นแบบเดียวกันทุกตลาดหุ้น คือมีการหนุนให้ดัชนีขึ้นไปให้แรงที่สุด จากนั้นก็ถล่มทุบลงมา ข่าวการปรับปรุงตัวหุ้นในการคำนวณดัชนี (Index reform) รับรู้ตั้งแต่ปี 1998 จึงมีการลากดัชนีมาเตรียมพร้อม เมื่อมีการปรับปรุงดัชนีจริงในช่วงปลายปี 1999 จึงมีการกระชากหุ้นขึ้นรวดเร็วและแรง ขึ้นไปสูงสุดในต้นปี 2000 ที่ประมาณ 5,000 จุด จากนั้นก็ถล่มทุบลงมา นายอลัน กรีนสแปน ผู้ว่าการธนาคารกลางของสหรัฐ ต้องออกมาเตือนให้ระวังการลงทุนในหุ้นดอทคอม ดัชนีลงมาต่ำสุดในปลายปี 2001 พอดีมีผู้ก่อการร้ายจี้เครื่องบินเข้าชนตึก World Trade Center(WTC) ที่กรุงนิวยอร์ค เมื่อ 11 กันยายน 2001 ส่งผลให้ดัชนีลงไปต่ำสุดที่ประมาณ 1,500 จุด รวมแล้วจากจุดสูงสุดถึงจุดต่ำสุด ดัชนีตกลงไป 78 เปอร์เซ็นต์ ที่นำเสนอบทความนี้ ในปี 2011 เวลาผ่านไป 11 ปีแล้ว ดัชนีแนสแดกซ์ยังไม่สามารถขึ้นมาถึงจุดเดิมได้  


ผลที่เกิดขึ้นหลังจากการพังทลายของตลาดหุ้น เกิดกับประเทศใด เมื่อใด จะเป็นแบบเดียวกันทุกประเทศ ต่างกันที่มากน้อย

1)   ทำให้ค่าเงินเสียหาย
2)   ทำให้ทุนสำรองลดลง
3)   ทำให้สภาพคล่องของระบบลดลง และเสียหาย
4)   ทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น (เพราะสภาพคล่องเสียหาย)
5)   ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น (เพราะค่าเงินเสียหาย อ่อนค่า)
6)   ทำให้ภาคการเงิน และภาคการผลิตจริงล้มลง และล้มละลาย
7)   ทำให้เกิดภาวะหนี้เสีย เมื่อรัฐเข้าไปอุ้ม ทำให้เกิดหนี้สาธารณะ
8)   ทำให้คนตกงานมาก
9)   ทำให้ต้องเข้าไอเอ็มเอฟ
10) ทำให้ระบบยากจนลง

การพังทลายของตลาดหุ้นแนสแดกซ์ในปี 2000 ส่งผลให้ค่าเงินเหรียญสหรัฐเสียหายด้วย ค่าเงินเหรียญสหรัฐตกลงอย่างมีนับสำคัญเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโรและสกุลเงินเยน(กราฟ) รวมทั้งสกุลเงินต่างทั่วโลก รวมทั้งสกุลเงินบาทด้วย เงินเหรียญสหรัฐไม่ได้รับความเชื่อมั่น ทำให้คนไม่ถือเงินเหรียญสหรัฐและสินทรัพย์ที่อยู่รูปสกุลดอลล่าร์สหรัฐ จึงขายดอลล่าร์แล้วซื้อเงินสกุลอื่นหรือสินทรัพย์ในสกุลเงินอื่นและสินค้าโภคภัณฑ์(เงินไหลออกจากสหรัฐ) ทำให้สภาพคล่องของอเมริกาเสียหาย ทำให้เกิดการล้มลงและล้มละลายของภาคการผลิตจริง และภาคการเงิน เกิดเป็นหนี้เสียตามมา

อเมริกาแก้ปัญหาการขาดสภาพคล่องด้วยการใช้ CDOs (Collateralized debt obligations) และ CDS (A credit default swap) หมายถึงให้สถาบันการเงินกู้เงิน และให้มีการค้ำประกันเงินกู้ มาใช้ในธุรกรรมตลาดเงิน ปรากฏว่าไปไม่รอด ส่งผลมีการล้มละลายอย่างกว้างขวางมากขึ้น และทำให้ความเสียหายสูงมากกว่าปกติขึ้นไปอีก


ความเสียหาย และการล้มละลาย เห็นได้จากกรณี Subprime รวมทั้งการล้มลงของสถาบันการเงินขนาดใหญ่ Enron WorldCom Bear Stern Fannie Mae Freddie Mac Lehman Brothers Merrill Lynch AIG ฯลฯ รัฐบาลอเมริกันต้องเข้าไปอุ้ม ทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปี 2010 หนี้สาธารณะสูงขึ้นมาเป็น 14.29 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ก็ยังไม่เพียงพอ ต้องแก้กฎหมายเพิ่มเพดานหนี้อีก

การโจมตีรูปแบบที่ 2 โจมตีตึกย่านธุรกิจและที่ทำการรัฐบาลสหรัฐตีโดยผู้ก่อการร้าย

เช้าวันที่ 11 กันยายน 2001 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา หรือช่วงหัวค่ำเวลาประเทศไทย ผู้ก่อการร้ายทำการจี้เครื่องบิน 4 ลำ เพื่อพุ่งเข้าชนตึกสำคัญของอเมริกา 2 ลำแรกเข้าโจมตีตึก World Trade Center (WTC) ทำให้ตึกแฝดพังทลายลงทั้ง 2 ตึก ลำที่ 3 บินเข้าชนตึกบัญชาการทางทหารเพนตากอน เครื่องบินลำที่ 4 คาดว่าจะบินเข้าชนทำเนียบขาว แต่ปฏิบัติการไม่สำเร็จ ถูกขัดขวางโดยผู้โดยสาร ทำให้เครื่องบินพลาดเป้าไปตกลงที่ Pennsylvania








10 ปีรำลึกการโจมตีตึกแฝด http://news.yahoo.com/behind-the-scenes-look-at-9-11-memorial.html


ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีการถ่ายทอดภาพทางโทรทัศน์ ผู้คนเห็นและทราบกันทั่วโลก ที่ผู้ก่อการร้ายจี้เครื่องบินเข้าโจมตีตึกที่ทำการสำคัญๆ ทั้งของเอกชนและของรัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันเช้าวันที่  11 กันยายน 2001 (การโจมตีรูปแบบที่ 2)

จากนั้นก็ได้เกิดสงครามแก้แค้นและเอาคืนของอเมริกา โดยยกกองทัพเข้าโจมตีทั้งที่อิรัก และปฏิบัติการกวาดล้างผู้ก่อการร้ายในอัฟกานิสถานและปากีสถาน ล่าสุดที่ปากีสถาน หน่วยซีไอเอของสหรัฐได้สังหารโอซาม่า บิน ลาเดนเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2011 หรือประมาณ 10 ปีหลังการโจมตีตึกแฝดของกรุงนิวยอร์ค แต่ไม่ได้มีการแก้แค้นและเอาคืนกับการโจมตีตลาดหุ้นอเมริการะหว่างปี 1999-2001 แต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะไม่ทราบว่ามีการโจมตีตลาดแนสแดกซ์นั่นเอง

เหล่าบรรดาเฮดจ์ฟันด์ ตลาดหุ้นคือสถานที่ที่เขาทำมาหากิน พวกเขามีความชำนาญ มีข้อมูล มีความรู้ มีความเข้าใจในกลไกความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจมหภาคโลกสูง ทำให้มีกำไรสูง เป็นกอบเป็นกำ จากตลาดหุ้น ตลาดเงิน และตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ เขาจึงเป็นผู้ควบคุม(หรือปั่น)ตลาดทุน ตลาดเงิน ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์

กองทุนโลก กองทุนข้ามชาติ หรือ เฮดจ์ฟันด์ ไม่เคยแยก ว่าเป็นตลาดทุนหรือตลาดเงินของประเทศตะวันตกหรือประเทศตะวันออก ไม่แยก ว่าเป็นของประเทศเกิดใหม่ หรือประเทศเกิดเก่า ไม่ว่าจะเป็นประเทศเล็ก หรือประเทศใหญ่ “เมื่อเขาเห็นจุดอ่อนประเทศใดเกิดขึ้นเมื่อใด" พวกเขาจะรุมจิกแบบไม่เลี้ยงทันที ระหว่างปี 1999 ดัชนีแนสแดกซ์มีการเปลี่ยนแปลงตัวหุ้นในการคำนวณดัชนี ทำให้ดัชนีเบี่ยงเบนสูง อ่อนแอสูง จึงถูกโจมตีอย่างง่ายดาย  

ความเสียหายทางเศรษฐกิจโดยตรงของประเทศสหรัฐอเมริกาหลังการพังทลายของตลาดหุ้นแนสแดกซ์ มีผู้ประเมินไว้ว่ามีมูลค่าสูงถึง 7.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ


ความเสียหาย ตึกคู่แฝด WTC ถูกโจมตี มีมูลค่า 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ คนตาย 3,000 คน

ขนาดเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกา มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เงินเหรียญสหรัฐก็เป็นเงินสกุลที่ใหญ่ที่สุดของโลก กล่าวได้ว่าเงินเหรียญสหรัฐเป็นสกุลเงินของโลกได้ ความเจริญและความเสื่อมของอเมริกา ก็คือความเจริญและความเสื่อมของโลกด้วย ความเสียหายจากการพังทลายของตลาดแนสแดกซ์ เสียหายมากกว่าที่คนทั่วไปจะเข้าใจ ความเสียหายยังเกิดขึ้นต่อเนื่องแบบไม่รู้จบ หาใช่เกิดความเสียหายต่ออเมริกาเพียงประเทศเดียวแต่อย่างใดไม่ แต่ส่งคลื่นความเสียหายกระจายไปทั่วโลก

การพังทลายของเงินเหรียญสหรัฐ  ที่เป็นผลมาจากการพังทลายของตลาดหุ้นแนสแดกซ์เมื่อปี 2000 หมายความค่าเงินเหรียญสหรัฐมีค่าเล็กลง หมายความว่า การซื้อสินค้าและบริการต่างๆด้วยปริมาณเท่าเดิม จะต้องใช้เงินเหรียญสหรัฐมากขึ้น จึงทำให้เห็นว่าสินค้าและบริการนั้นราคาสูงขึ้น



จะเห็นว่าราคาทองคำและน้ำมัน มีราคาสูงขึ้น

ราคาทองคำ และราคาน้ำมันเริ่มขึ้นหลังปี 2000 (หลังการพังทลายของเงินเหรียญสหรัฐ) ราคาทองคำยังขึ้นต่อเนื่องถึงปี 2011 ซึ่งขึ้นมา 525 เปอร์เซ็นต์แล้ว ส่วนราคาน้ำมันขึ้นมาถึงกลางปี 2008 ขึ้นมา 683 เปอร์เซ็นต์ แล้วราคาก็ปรับตัว ราคาแร่โลหะทั่วไป ราคาถั่วเหลือง ราคามันสัมปะหลัง ราคายางพารา ราคาน้ำตาล ฯลฯ ล้วนสูงขึ้นทั้งหมด (เพราะมูลค่าเงินเหรียญสหรัฐมันเล็กลง)

ก็คือเงินเฟ้อโลกสูงขึ้นนั่นเอง

คนไม่รู้ว่ามีการโจมตีตลาดหุ้น รู้แต่ว่ามีการโจมตีตึกคู่แฝดในกรุงนิวยอร์ค ต้นเหตุความเสียหายอย่างรุนแรงที่เกิดกับประเทศสหรัฐอเมริกาหาใช่ผู้ก่อการร้ายนอกประเทศแต่อย่างใดไม่ หาใช่ผู้ก่อการร้ายที่จี้เครื่องบินพุ่งเข้าชนตึก  World Trade Center แต่อย่างใดไม่ แต่แท้จริงคือบรรดากองทุนโลก ที่โจมตีตลาดแนสแดกซ์ต่างหาก

เมื่อประเทศต่างๆและโลกไม่ตระหนักว่าต้นเหตุอะไรที่ทำให้เกิดหนี้ แล้วจะแก้ปัญหาหนี้ได้อย่างไร การแก้ปัญหาหนี้ก็ต้องแก้ที่ต้นเหตุที่ทำให้เกิดหนี้ การใช้แต่เงินในการแก้ปัญหาหนี้ เป็นเพียงการแก้ปัญหาหนี้ที่ปลายเหตุ แล้วเช่นนี้หนี้เสียจะยุติได้อย่างไร

หากตลาดหุ้นยังมีอยู่ในอเมริกา และมีในประเทศต่างๆ ภูมิภาคต่างๆในโลก ก็จะพบกับความยากจนลงตลอดเวลา เงินเฟ้อและค่าครองชีพจะสูงขึ้นตลอดเวลา  ผู้คนส่วนใหญ่ของโลกจะไม่มีความสุข และจะเดือดร้อนเพิ่มขึ้นตลอดเวลา เหมือนกับความเดือดร้อนที่เกิดจากปัญหาเงินเฟ้อ หนี้ท่วมประเทศต่างๆเวลานี้

การโจมตีรูปแบบที่ 2 หรือการโจมตีตึกแฝดกลางกรุงนิวยอร์คโดยผู้ก่อหารร้าย ก็เสียหาย แต่ไม่ร้ายแรงเท่าการโจมตีแบบที่ 1 การโจมตีรูปแบบที่ 1 หรือการโจมตีตลาดหุ้นโดยบรรดากองทุนโลก อันตรายร้ายแรงที่สุด เกิดความเสียหายมากที่สุด ส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อหรือค่าครองชีพสูงไปทั่วโลก เดือดร้อนไปทั่วโลก เกิดการล้มละลายและเกิดหนี้กองใหญ่ ช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ประเทศสหรัฐอเมริกาต้องปรับเพดานหนี้ให้สูงขึ้นทุกปี รวมทั้งการปรับเพดานหนี้เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2011 ที่ผ่านมา ก็เป็นผลพวงมาจากการโจมตีตลาดแนสแดกซ์ระหว่างปี 1999-2000 นั่นเอง


เรื่องคล้ายกัน นำเสนอครั้งแรก วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน 2551 ที่ http://bit.ly/q2FjA1



หมายเหตุ : DJIA Index เป็นดัชนีราคา (Priced weighted index) เกิดในปี 1889 หรือเมื่อประมาณ 122 ปีมาแล้ว NASDAQ Index เป็นดัชนีมูลค่าตลาด (Market capitalized weighted index) เกิดเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 1971 หรือเมื่อประมาณ 40 ปีมาแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น